วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560

SMEเกือบท้งหมดเป็นธุรกิจขนาดเล็ก และส่วนใหญ่เป็นประเภทบุคคลธรรมดา

จากจำนวน SME ทั้งประเทศ 2,736,744 ราย มีเพียง 586,958 รายเท่านั้น
ที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 21.4 ของจำนวน SME ทั้งหมด
โดยในกลุ่มที่จดทะเบียนนิติบุคคลนั้น
แบ่งเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprise) ถึง 576,457 ราย
นอกนั้นอีก 10,501 ราย เป็นวิสาหกิจ ขนาดกลาง (Medium Enterprise)

สำหรับผู้ประกอบการ SME อีก 2,079,267 ราย หรือประมาณร้อยละ 76.0
ของจำนวน SME ทั้งหมด เป็น SME ประเภทบุคคลธรรมดา ซึ่งแบ่งเป็นวิสาหกิจ
ขนาดย่อมจำนวน 2,076,956 ราย วิสาหกิจขนาดกลางจำนวน 2,311 ราย
และกลุ่มสุดท้าย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีจำนวน 70,519 ราย คิดเป็น
เพียงร้อยละ 2.6 ของจำนวน SME ทั้งหมด



















จะเห็นว่า แม้จะมี SME อยู่จำนวนมาก แต่เกือบทั้งหมดเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม
โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางเพียง 12,812 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ SME
ท้้งหมดเเท่านั้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง
อยู่ที่ร้อยละ 5-10 นั้นสะท้อนให้เห็นข้อจำกัดมากมายที่ทำให้วิสาหกิจขนาดย่อม
ไม่สามารถเติบโตไปเป็นขนาดกลางได้ อาทิ การเข้าถึงเงินทุนเพื่อขยายกิจการ
ข้อจำกัดด้านผลิตภาพและระบบบริหารจัดการ หรือปัญหาด้านการขยายตลาด
ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการที่ประเทศไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางที่น้อย
เกินไป หรือที่ OECD เรียกว่า “Missing Middle” นั้น เป็นอุปสรรคอย่างมาก
ต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางจัดเป็น
กลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับสากล สามารถใช้ประโยชน์จากการค้าและ
การลงทุนระหว่างประเทศ และมีโอกาสสร้างสินค้านวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
ได้มากกว่า.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น