ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถ SME เฉพาะกลุ่ม
เป็นการส่งเสริมและพัฒนา SME เฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการความช่วยเหลือ
ที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเฉพาะสำหรับ SME
แต่ละกลุ่ม มี 3 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีมูลค่าสูง (High Value Startup):
การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ในกลุ่มที่สามารถสร้างมูลค่าได้สูง
ผ่านกระบวนการอบรมเชิงลึกและบ่มเพาะ สนับสนุนให้มีการพัฒนาศูนย์
บ่มเพาะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดตั้งศูนย์บริการด้านการออกแบบและ
ความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนการดำเนินงานของ Startup Accelerator
ให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม
ปรับปรุงกฎระเบียบและกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ
กลุ่มนี้
‣ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจของ SME:
การพัฒนาความเข้มแข็งของคลัสเตอร์และกลุ่มสหกรณ์ เชื่อมโยงให้ SME
เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมองค์การเอกชนให้
เข้มแข็ง
‣ พัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง:
การส่งเสริมให้วิสาหกิจ
ฐานรากมีความรู้ในการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่ง
เสริมกิจกรรมด้านการตลาดในท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มและ
ยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนากลไกเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริม SME อย่าง
เป็นระบบ
เป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนที่จะช่วยให้การส่งเสริมและพัฒนา SME เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น มี 2 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ พัฒนาเครื่องมือการส่งเสริม SME ให้มีประสิทธิภาพ:
การส่งเสริมให้ SME เข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ และการพัฒนาต่างๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพผ่านระบบศูนย์บริการข้อมูล สนับสนุนการใช้ผู้ให้บริการ
ธุรกิจเอกชน (Private Service Provider) ให้มากขึ้น พัฒนาระบบการ
ให้บริการด้านที่ปรึกษา พี่เลี้ยง นักวินิจฉัย และจัดทำระบบการติดตาม
และประเมินศักยภาพ SME รวมทั้งยกระดับการพัฒนามาตรฐานให้กับ
SME และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นที่ยังมีให้บริการไม่เพียงพอ
‣ ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ สิทธิประโยชน์เพื่อเอื้อและลด
อุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของ SME:
การทบทวนปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบต่างๆ ที่มีผลต่อการพัฒนา SME และกำหนดสิทธิประโยชน์
สำหรับ SME ในรูปแบบต่างๆ
สำหรับกระบวนการในการขับเคลื่อนแนวคิดและแนวทางของแผนการส่งเสริมฯ
ฉบับที่ 4 ไปสู่การปฏิบัตินั้น จะดำเนินการโดยการจัดทำ “แผนปฏิบัติการ
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” เพื่อถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การ
ดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้นทั้งในเรื่องของหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละ
แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และระยะเวลาการดำเนินงาน โดยต้องมีการ
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ที่สอดคล้องกับ
แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 4 ต่อไป นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีกระบวนการ
ติดตามและประเมินผลเพื่อวัดความก้าวหน้าหรือผลสัมฤทธิ์ในระดับต่างๆ ทั้งใน
ระดับภาพรวมของแผนการส่งเสริมฯ ระดับผลกระทบต่อ SME และระดับ
โครงการภายใต้แผนการส่งเสริมฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น