ในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของเราจะเป็น
ประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์
รวมทั้งทุกคนมีส่วนร่วม มีความยั่งยืน แข็งแกร่ง และพลวัต
ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง
๑ ประชาคมที่มุ่งมั่น ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไก
ที่เชื่อถือได้ และทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในอาเซียน
โดยยึดหลักธรรมภิบาล
๒ ประชาคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงโอกาส
อย่างเท่าเทียม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่มที่เปราะบางและชายขอบ
๓ ประชาคมที่มีความยั่งยืน ที่สนับสนุนการพัฒนาทางสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อม
ผ่านกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและอนาคตของ
ประชาชน
๔ ประชาคมที่แข็งแกร่ง ที่มีความสามารถและสมรรถนะในการปรับตัวและตอบสนอง
ต่อความเปราะบางทางสังคมและความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ปัญหาภัยพิบัติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น
๕ ประชาคมที่มีพลวัตและปรองดอง ตระหนักและภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม
และมรดกที่เสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาและส่งเสริมประชาคมโลก
ในเชิงรุกได้
ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๐๒๕ ได้สำเร็จ เราต้องจัดตั้งประชาคม
ที่มีสถาบัน ที่เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนากระบวนการการทำงานและการประสานงานของ
อาเซียน เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งรวมถึง
สำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ เราจะต้องจัดตั้งประชาคมที่สถาบันของอาเซียน
มีตัวตนมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ
ดังนั้น เรามอบหมายคณะมนตรีประชาคมอาเซียนในการนำข้อตกลงใน
“อาเซียน ค.ศ. 2025:มุ่งหน้าไปด้วยกัน” ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ
และรายงานต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตามกระบวนการที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว
เราสัญญากับประชาชนของเราว่า จะมีความแน่วแน่ในการจัดตั้งอาเซียนที่ยึดมั่นในกฎกติกา
ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมี
“หนึ่งวิสัยทัศน์
หนึ่งอัตลักษณ์
หนึ่งประชาคม”
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น