ปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วย อาเซียน 2025 มุ่งหน้าไปด้วยกัน
เรา ประมุขแห่งรัฐ
หรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า
อาเซียน) ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม
ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ระลึกถึง
จิตวิญญาณที่บิดาผู้ก่อตั้งอาเซียนได้รวมตัวกัน ณ กรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 1967
เพื่อก่อตั้งสมาคม
ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสันติภาพ เสรีภาพ
และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับประชาชนของเรา
ยืนยัน
พันธกรณีที่มีต่อวัตถุประสงค์และหลักการที่ปรากฏในปฏิญญาอาเซียน (กรุงเทพฯ
ค.ศ. 1967)
ปฏิญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ
และความเป็นกลาง (กรุงกัวลาลัมเปอร์ ค.ศ. 1971)
สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (บาหลี ค.ศ. 1976)
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (บาหลีค.ศ. 1976)
สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(กรุงเทพฯ ค.ศ. 1995)
วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.
2020 (กรุงกัวลาลัมเปอร์ ค.ศ. 1997)
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2
(บาหลี ค.ศ. 2003)
และปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก (บาหลี ค.ศ.
2011)
ยืนยัน
วัตถุประสงค์และหลักการที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนา
และเจตนารมณ์ร่วม ที่จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีสันติภาพ
ความมั่นคง และเสถียรภาพที่ยืนยง
มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
มีความมั่งคั่งร่วมกัน และมีความก้าวหน้าทางสังคม
และส่งเสริมผลประโยชน์ อุดมคติ
และความใฝ่ฝันของอาเซียน
ตระหนักว่า
ภูมิยุทธศาสตร์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งโอกาสและ
ความท้าทาย ซึ่งอาเซียนจะต้องตอบสนองในเชิงรุก
เพื่อให้อาเซียนมีความสำคัญและรักษา
ความเป็นแกนกลางและบทบาทของอาเซียนในฐานะผู้ขับเคลื่อนหลักในโครงสร้างสถาปัตยกรรม
ภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
ตระหนักถึง
เจตนารมณ์ของเราในปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน
ภายหลังปี ค.ศ. 2015และปฏิญญาเนปิดอว์ว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ.2015
ซึ่งจะกำหนดทิศทางในอนาคตของอาเซียนที่มีเอกภาพทางการเมือง
มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำเพื่อประชาชนและ
มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และยึดมั่นใน
กฎกติกาอย่างแท้จริง
เน้นย้ำ
ความสำคัญของการปฏิบัติตามรายงานและข้อเสนอแนะของคณะทำงานระดับสูง
ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สำนักเลขาธิการอาเซียนและการทบทวนองค์กรต่าง
ๆ
ของอาเซียน
ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ เนปิดอว์
ตระหนักถึง
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
(ค.ศ. 2009-2015)
ซึ่งประกอบด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง
อาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
และแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม
และวัฒนธรรมอาเซียน
รวมทั้งแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 2 และ
แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงของอาเซียน
ต้อนรับ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2015 อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบด้วยประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
อาเซียน และชื่นชม
การทำงานของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี
ค.ศ. 2015รวมทั้งคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยประชาคม
สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักเลขาธิการอาเซียนในการจัดทำ
แผนงานประชาคมอาเซียนทั้ง 3 ฉบับ
ในการนี้ จึง
1. รับรอง วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน2025 และแผนงานประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียน 2025 แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 และแผนงาน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025
2. เห็นพ้องว่า ปฏิญญาฉบับนี้
และวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025
และแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน2025
แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025
และแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
2025
ตามเอกสารแนบรวมกันเป็นเอกสาร “อาเซียน
2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน”
3. ตัดสินใจว่า “อาเซียน
ค.ศ. 2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน” เป็นเอกสารทดแทนแผนงาน
การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ 2009-2015)
4. ตัดสินใจอีกว่า
แผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 3 และ
ความเชื่อมโยงอาเซียน ค.ศ. 2025 ที่จะรับรองในปี ค.ศ.2016 จะเป็นส่วนหนึ่ง
ของ“อาเซียน ค.ศ. 2025 : มุ่งหน้าไปด้วยกัน”
5. มอบหมาย ให้ประเทศสมาชิกอาเซียน
รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน
ดำเนินการตาม“อาเซียน
ค.ศ.2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน” อย่างมีประสิทธิภาพ
และทันท่วงที
ตามวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียน
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น