แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕
บทนำ
๑. แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๐๙-๒๐๑๕ เสริมสร้างความร่วมมือ
ด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่มีมากว่าสี่ทศวรรษ ในลักษณะที่ครอบคลุม
และเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถ
อยู่ร่วมกันอย่างสันติในภูมิภาคและกับโลกภายนอก ในบรรยากาศของความยุติธรรม
เป็นประชาธิปไตย และมีความปรองดอง โดยแผนงานฉบับนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
การรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ยึดหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติ
และมองออกไปนอกภูมิภาคในการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีภายนอกอาเซียน
๒.เจ็ดปีของการดำเนินการตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๐๙-
๒๐๑๕ ทำให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงมีความลึกซึ้งขึ้นและครอบคลุม
สาขาที่มากขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการตอบสนองความท้าทายทั้งใน
ระดับภูมิภาคและระดับโลก สร้างความแข็งแกร่งให้แก่รากฐานของประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘
๓. แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕ จะต่อยอดจากความสำเร็จ
ที่เกิดขึ้น เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้
อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดมั่นในกฎกติกาและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยประชาชนมีสิทธิ
มนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และความยุติธรรมทางสังคม อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
และมั่นคง มีศักยภาพในการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
และในภูมิภาคที่มีพลวัต ซึ่งอาเซียนสามารถรักษาความเป็นแกนกลางของตนในโครงสร้าง
สถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปและมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในโลก ในการนี้
แผนงานฉบับนี้สนับสนุนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับประชาชนและ
มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์
จากกระบวนการรวมตัวและการสร้างประชาคมอาเซียน โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา
ภาษา หรือพื้นเพทางสังคมและวัฒนธรรม
แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕ ยึดแนวทางตามกฎบัตร
อาเซียน ตลอดจนตราสารและเอกสารอื่น ๆ ของอาเซียน ซึ่งกำหนดหลักการและกรอบ
สำหรับความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงและการดำเนินการตามแผนงานฯ
ซึ่งการดำเนินการนี้ จะเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายภายในประเทศ โดยที่
การสร้างประชาคมเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จึงยังคงต้องดำเนินกิจกรรม
หรือโครงการที่ปรากฏในแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๐๙-๒๐๑๕
ต่อไป เมื่อคำนึงว่า กิจกรรมและโครงการเหล่านี้ยังมีความสำคัญอยู่ อย่างไรก็ดี การดำเนินการ
ตามแผนงานฯ จะต้องมีแนวทางที่เด่นชัดและมองไปข้างหน้า เพื่อให้แผนงานประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕ สอดคล้องสัมพันธ์กัน ร่วมสมัย และสามารถรับมือกับ
ความท้าทายของยุคสมัยได้
วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560
วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของเราจะเป็น
ประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์
รวมทั้งทุกคนมีส่วนร่วม มีความยั่งยืน แข็งแกร่ง และพลวัต
ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง
๑ ประชาคมที่มุ่งมั่น ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไก
ที่เชื่อถือได้ และทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในอาเซียน
โดยยึดหลักธรรมภิบาล
๒ ประชาคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงโอกาส
อย่างเท่าเทียม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่มที่เปราะบางและชายขอบ
๓ ประชาคมที่มีความยั่งยืน ที่สนับสนุนการพัฒนาทางสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อม
ผ่านกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและอนาคตของ
ประชาชน
๔ ประชาคมที่แข็งแกร่ง ที่มีความสามารถและสมรรถนะในการปรับตัวและตอบสนอง
ต่อความเปราะบางทางสังคมและความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ปัญหาภัยพิบัติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น
๕ ประชาคมที่มีพลวัตและปรองดอง ตระหนักและภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม
และมรดกที่เสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาและส่งเสริมประชาคมโลก
ในเชิงรุกได้
ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๐๒๕ ได้สำเร็จ เราต้องจัดตั้งประชาคม
ที่มีสถาบัน ที่เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนากระบวนการการทำงานและการประสานงานของ
อาเซียน เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งรวมถึง
สำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ เราจะต้องจัดตั้งประชาคมที่สถาบันของอาเซียน
มีตัวตนมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ
ดังนั้น เรามอบหมายคณะมนตรีประชาคมอาเซียนในการนำข้อตกลงใน
“อาเซียน ค.ศ. 2025:มุ่งหน้าไปด้วยกัน” ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ
และรายงานต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตามกระบวนการที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว
เราสัญญากับประชาชนของเราว่า จะมีความแน่วแน่ในการจัดตั้งอาเซียนที่ยึดมั่นในกฎกติกา
ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมี
“หนึ่งวิสัยทัศน์
หนึ่งอัตลักษณ์
หนึ่งประชาคม”
ประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์
รวมทั้งทุกคนมีส่วนร่วม มีความยั่งยืน แข็งแกร่ง และพลวัต
ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง
๑ ประชาคมที่มุ่งมั่น ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไก
ที่เชื่อถือได้ และทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในอาเซียน
โดยยึดหลักธรรมภิบาล
๒ ประชาคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงโอกาส
อย่างเท่าเทียม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่มที่เปราะบางและชายขอบ
๓ ประชาคมที่มีความยั่งยืน ที่สนับสนุนการพัฒนาทางสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อม
ผ่านกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและอนาคตของ
ประชาชน
๔ ประชาคมที่แข็งแกร่ง ที่มีความสามารถและสมรรถนะในการปรับตัวและตอบสนอง
ต่อความเปราะบางทางสังคมและความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ปัญหาภัยพิบัติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น
๕ ประชาคมที่มีพลวัตและปรองดอง ตระหนักและภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม
และมรดกที่เสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาและส่งเสริมประชาคมโลก
ในเชิงรุกได้
ขับเคลื่อนไปข้างหน้า
เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๐๒๕ ได้สำเร็จ เราต้องจัดตั้งประชาคม
ที่มีสถาบัน ที่เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนากระบวนการการทำงานและการประสานงานของ
อาเซียน เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งรวมถึง
สำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ เราจะต้องจัดตั้งประชาคมที่สถาบันของอาเซียน
มีตัวตนมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ
ดังนั้น เรามอบหมายคณะมนตรีประชาคมอาเซียนในการนำข้อตกลงใน
“อาเซียน ค.ศ. 2025:มุ่งหน้าไปด้วยกัน” ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ
และรายงานต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตามกระบวนการที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว
เราสัญญากับประชาชนของเราว่า จะมีความแน่วแน่ในการจัดตั้งอาเซียนที่ยึดมั่นในกฎกติกา
ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมี
“หนึ่งวิสัยทัศน์
หนึ่งอัตลักษณ์
หนึ่งประชาคม”
วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560
SME ไทยยังพึ่งพาตลาดส่งออกเก่า ไม่มองหาโอกาสใหม่
จากข้อมูลในปี 2557 พบว่า SME ไทยพึ่งพิงตลาดต่างประเทศอยู่พอสมควร
โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก SME ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SEM
อยู่ที่ร้อยละ 36.8
เช่นเดียวกับการส่งออกโดยตรงของ SME ซึ่งมีมูลค่า 1,971,817 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 26.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ
หากมองในแง่จำนวนผู้ประกอบการส่งออก-นำเข้า จะเห็นว่า มี SME
เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
โดยในปี 2557 มีจำนวน SME ที่ส่งออกอยู่ที่ 24,543 ราย ซึ่งไม่ถึง
ร้อยละ 1 ของจำนวน SME ทั้งหมด
ในขณะที่ มีจำนวน SME ที่เป็นผู้นำเข้า 46,124 ราย โดยนำเข้า 2,224,030.7
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้เกิด
การขาดดุลการค้าในส่วนของ SME จำนวน 306,213.6 ล้านบาท ในปี 2557
เห็นได้ชัดว่า SME ไทย ยังคงพึ่งพาการค้าขายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่
มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่หมื่นรายเท่านั้นที่มีศักยภาพสำหรับตลาดต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังพบว่า SME ไทยยังยึดติดกับการพึ่งพาตลาดคู่ค้าหลักๆ ในระบบ
เศรษฐกิจโลกเพียงไม่กี่ประเทศ อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
โดยยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสในตลาดส่งออกใหม่ๆ ได้มากนัก ในระยะยาวอาจ
ส่งผลกระทบ.
โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก SME ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SEM
อยู่ที่ร้อยละ 36.8
เช่นเดียวกับการส่งออกโดยตรงของ SME ซึ่งมีมูลค่า 1,971,817 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 26.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ
หากมองในแง่จำนวนผู้ประกอบการส่งออก-นำเข้า จะเห็นว่า มี SME
เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
โดยในปี 2557 มีจำนวน SME ที่ส่งออกอยู่ที่ 24,543 ราย ซึ่งไม่ถึง
ร้อยละ 1 ของจำนวน SME ทั้งหมด
ในขณะที่ มีจำนวน SME ที่เป็นผู้นำเข้า 46,124 ราย โดยนำเข้า 2,224,030.7
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้เกิด
การขาดดุลการค้าในส่วนของ SME จำนวน 306,213.6 ล้านบาท ในปี 2557
เห็นได้ชัดว่า SME ไทย ยังคงพึ่งพาการค้าขายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่
มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่หมื่นรายเท่านั้นที่มีศักยภาพสำหรับตลาดต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังพบว่า SME ไทยยังยึดติดกับการพึ่งพาตลาดคู่ค้าหลักๆ ในระบบ
เศรษฐกิจโลกเพียงไม่กี่ประเทศ อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
โดยยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสในตลาดส่งออกใหม่ๆ ได้มากนัก ในระยะยาวอาจ
ส่งผลกระทบ.
วันจันทร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ผลิตภาพแรงงาน SME ยังห่างไกลจากวิสาหกิจขนาดใหญ่
มูลค่า GDP ต่อจำนวนแรงงาน หรือ “ผลิตภาพแรงงาน” ของ SME
ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SME
ซึ่งที่ผ่านมา แม้ผลิตภาพแรงงานของ SME จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลิตภาพของวิสาหกิจขนาดใหญ่
โดยในปี 2557 ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยของ SME อยู่ที่ 496,236 บาท/คน/ปี
ในขณะที่วิสาหกิจขนาดใหญ่ (LE) มีผลิตภาพแรงงานเฉลี่ย
อยู่ที่ 2,228,019 บาท/คน/ปี
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการชะลอตัวของผลิตภาพแรงงานไทย
โดยสัดส่วนการเติบโตด้านผลิตภาพต่อการเติบโตของกำลังแรงงาน
ลดลงจาก 2.86 เท่า ในช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 เหลือเพียง 1.56 เท่า
ในช่วงหลังจากนั้น มีสาเหตุหลักๆ มาจากการที่
1) แรงงานเคลื่อนย้ายจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ
ไปสู่ภาคเกษตรและธุรกิจการเกษตรมากขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และ
2) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มขันยังคงเลือกที่จะใช้แรงงานต่างด้าวไร้ทักษะ
มากกว่าจะปรับเปลี่ยนธุรกิจไปใช้เครื่องจักร หรือปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรม
ที่มีความซับซ้อนหรือมีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) สูงขึ้น ทั้งหมดล้วน
ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานของไทยเป็นอย่างมาก.
ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับ SME
ซึ่งที่ผ่านมา แม้ผลิตภาพแรงงานของ SME จะมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
แต่ยังถือว่าอยู่ในระดับที่ต่ำมาก เมื่อเทียบกับผลิตภาพของวิสาหกิจขนาดใหญ่
โดยในปี 2557 ผลิตภาพแรงงานเฉลี่ยของ SME อยู่ที่ 496,236 บาท/คน/ปี
ในขณะที่วิสาหกิจขนาดใหญ่ (LE) มีผลิตภาพแรงงานเฉลี่ย
อยู่ที่ 2,228,019 บาท/คน/ปี
นอกจากนี้ ยังพบปัญหาการชะลอตัวของผลิตภาพแรงงานไทย
โดยสัดส่วนการเติบโตด้านผลิตภาพต่อการเติบโตของกำลังแรงงาน
ลดลงจาก 2.86 เท่า ในช่วงก่อนวิกฤตปี 2540 เหลือเพียง 1.56 เท่า
ในช่วงหลังจากนั้น มีสาเหตุหลักๆ มาจากการที่
1) แรงงานเคลื่อนย้ายจากภาคอุตสาหกรรมและบริการ
ไปสู่ภาคเกษตรและธุรกิจการเกษตรมากขึ้น ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา และ
2) อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มขันยังคงเลือกที่จะใช้แรงงานต่างด้าวไร้ทักษะ
มากกว่าจะปรับเปลี่ยนธุรกิจไปใช้เครื่องจักร หรือปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรม
ที่มีความซับซ้อนหรือมีมูลค่าเพิ่ม (Value Added) สูงขึ้น ทั้งหมดล้วน
ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของผลิตภาพแรงงานของไทยเป็นอย่างมาก.
วันอาทิตย์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560
SME แหล่งจ้างงานสำคัญของประเทศ
หากมองเรื่องการจ้างงานที่เกิดขึ้นในประเทศแล้ว
คงไม่มีใครปฏิเสธบทบาทความสำคัญของ SME ได้อย่างแน่นอน
เพราะในปี 2557 มีการจ้างงานทั้งหมด 13,078,147
คน
แบ่งเป็นการจ้างงานโดยวิสาหกิจขนาดใหญ่
จำนวน 2,575,949
คน คิดเป็นร้อยละ 19.7
วิสาหกิจขนาดกลาง จำนวน
976,065 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5
และวิสาหกิจขนาดย่อมถึง 9,525,101 หรือคิดเป็นร้อยละ 72.8
ของการจ้างงานทั้งประเทศ
จะเห็นว่า กว่าร้อยละ 80 ของการจ้างงานทั้งประเทศ เกิดขึ้นจากธุรกิจ SME
ถึง 10,501,166 คน โดยกระจายอย่ใูนทุก สาขาอาชีพ และทุกสาขาอุตสาหกรรม
ตั้งแต่ธุรกิจการเกษตรไปจนถึงภาคอุตสาหกรรมการผลิต ภาคการค้าและขนส่ง
รวมถึงธุรกิจบริการต่างๆ อีกมากมาย
อย่างไรก็ตาม การจ้างงานในเชิงคุณภาพยังคงเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบ
ต่อการเติบโตของธุรกิจ ทั้งในส่วนของปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะฝีมือ
และช่างเทคนิคเฉพาะทาง ตลอดจนข้อจำกัดเรื่องทักษะและความสามารถ
ในเชิงธุรกิจของตัวเจ้าของกิจการเอง โดยปัญหาที่พบบ่อยนั้น มีตั้งแต่ปัญหา
ด้านภาษา ด้าน IT และคอมพิวเตอร์ ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่เอื้อต่อการทำ
ธุรกิจ ไปจนถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่เป็นช่างฝีมือและผู้เชี่ยวชาญ
เฉพาะด้าน
ซึ่งต้องได้รับการแก้ไขตั้งแต่ระบบการศึกษาก่อนเข้าสู่ตลาดแรงงาน.
วันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560
SMEเกือบท้งหมดเป็นธุรกิจขนาดเล็ก และส่วนใหญ่เป็นประเภทบุคคลธรรมดา
จากจำนวน SME ทั้งประเทศ 2,736,744 ราย มีเพียง 586,958 รายเท่านั้น
ที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 21.4 ของจำนวน SME ทั้งหมด
โดยในกลุ่มที่จดทะเบียนนิติบุคคลนั้น
แบ่งเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprise) ถึง 576,457 ราย
นอกนั้นอีก 10,501 ราย เป็นวิสาหกิจ ขนาดกลาง (Medium Enterprise)
สำหรับผู้ประกอบการ SME อีก 2,079,267 ราย หรือประมาณร้อยละ 76.0
ของจำนวน SME ทั้งหมด เป็น SME ประเภทบุคคลธรรมดา ซึ่งแบ่งเป็นวิสาหกิจ
ขนาดย่อมจำนวน 2,076,956 ราย วิสาหกิจขนาดกลางจำนวน 2,311 ราย
และกลุ่มสุดท้าย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีจำนวน 70,519 ราย คิดเป็น
เพียงร้อยละ 2.6 ของจำนวน SME ทั้งหมด
จะเห็นว่า แม้จะมี SME อยู่จำนวนมาก แต่เกือบทั้งหมดเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม
โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางเพียง 12,812 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ SME
ท้้งหมดเเท่านั้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง
อยู่ที่ร้อยละ 5-10 นั้นสะท้อนให้เห็นข้อจำกัดมากมายที่ทำให้วิสาหกิจขนาดย่อม
ไม่สามารถเติบโตไปเป็นขนาดกลางได้ อาทิ การเข้าถึงเงินทุนเพื่อขยายกิจการ
ข้อจำกัดด้านผลิตภาพและระบบบริหารจัดการ หรือปัญหาด้านการขยายตลาด
ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการที่ประเทศไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางที่น้อย
เกินไป หรือที่ OECD เรียกว่า “Missing Middle” นั้น เป็นอุปสรรคอย่างมาก
ต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางจัดเป็น
กลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับสากล สามารถใช้ประโยชน์จากการค้าและ
การลงทุนระหว่างประเทศ และมีโอกาสสร้างสินค้านวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
ได้มากกว่า.
ที่จดทะเบียนนิติบุคคล หรือคิดเป็นเพียงร้อยละ 21.4 ของจำนวน SME ทั้งหมด
โดยในกลุ่มที่จดทะเบียนนิติบุคคลนั้น
แบ่งเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม (Small Enterprise) ถึง 576,457 ราย
นอกนั้นอีก 10,501 ราย เป็นวิสาหกิจ ขนาดกลาง (Medium Enterprise)
สำหรับผู้ประกอบการ SME อีก 2,079,267 ราย หรือประมาณร้อยละ 76.0
ของจำนวน SME ทั้งหมด เป็น SME ประเภทบุคคลธรรมดา ซึ่งแบ่งเป็นวิสาหกิจ
ขนาดย่อมจำนวน 2,076,956 ราย วิสาหกิจขนาดกลางจำนวน 2,311 ราย
และกลุ่มสุดท้าย ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ซึ่งมีจำนวน 70,519 ราย คิดเป็น
เพียงร้อยละ 2.6 ของจำนวน SME ทั้งหมด
จะเห็นว่า แม้จะมี SME อยู่จำนวนมาก แต่เกือบทั้งหมดเป็นวิสาหกิจขนาดย่อม
โดยมีวิสาหกิจขนาดกลางเพียง 12,812 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 ของ SME
ท้้งหมดเเท่านั้น ในขณะที่ประเทศพัฒนาแล้วจะมีสัดส่วนของวิสาหกิจขนาดกลาง
อยู่ที่ร้อยละ 5-10 นั้นสะท้อนให้เห็นข้อจำกัดมากมายที่ทำให้วิสาหกิจขนาดย่อม
ไม่สามารถเติบโตไปเป็นขนาดกลางได้ อาทิ การเข้าถึงเงินทุนเพื่อขยายกิจการ
ข้อจำกัดด้านผลิตภาพและระบบบริหารจัดการ หรือปัญหาด้านการขยายตลาด
ทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งการที่ประเทศไทยมีวิสาหกิจขนาดกลางที่น้อย
เกินไป หรือที่ OECD เรียกว่า “Missing Middle” นั้น เป็นอุปสรรคอย่างมาก
ต่อการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากธุรกิจขนาดกลางจัดเป็น
กลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขันระดับสากล สามารถใช้ประโยชน์จากการค้าและ
การลงทุนระหว่างประเทศ และมีโอกาสสร้างสินค้านวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
ได้มากกว่า.
ทำความรู้จักกับ SME ไทย
SME หรือชื่อเต็มๆ ว่า “วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม”
ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความหลากหลายอย่างมาก
ทั้งในด้านขนาด คือ ตั้งแต่ขนาดเล็กแบบร้านค้า
เจ้าของคนเดียว ผู้ให้บริการ ผู้ส่งออก ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ
บริษัทขนาดใหญ่ และด้านระดับการเติบโตของธุรกิจ รูปแบบการจัดตั้งกิจการ
ตลอดจนระดับความรู้ของเจ้าของธุรกิจ เรียกได้ว่า ในทุกวัน แต่ละคนจะต้อง
เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ SME แทบจะตลอดเวลา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
โดยในปี 2557 ประเทศไทยมีจำนวน SME ทั้งสิ้น 2,736,744 ราย
หรือคิดเป็นร้อยละ 99.7 เมื่อเทียบกับวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศ
ก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 10,501,166 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.3 ของการจ้างงานทั้งหมด
และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 5,212,004 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 39.6 ของ GDP ประเทศ
ถือเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีความหลากหลายอย่างมาก
ทั้งในด้านขนาด คือ ตั้งแต่ขนาดเล็กแบบร้านค้า
เจ้าของคนเดียว ผู้ให้บริการ ผู้ส่งออก ไปจนถึงผู้ผลิตชิ้นส่วนให้กับ
บริษัทขนาดใหญ่ และด้านระดับการเติบโตของธุรกิจ รูปแบบการจัดตั้งกิจการ
ตลอดจนระดับความรู้ของเจ้าของธุรกิจ เรียกได้ว่า ในทุกวัน แต่ละคนจะต้อง
เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการ SME แทบจะตลอดเวลา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง
โดยในปี 2557 ประเทศไทยมีจำนวน SME ทั้งสิ้น 2,736,744 ราย
หรือคิดเป็นร้อยละ 99.7 เมื่อเทียบกับวิสาหกิจทั้งหมดของประเทศ
ก่อให้เกิดการจ้างงานถึง 10,501,166 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 80.3 ของการจ้างงานทั้งหมด
และสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 5,212,004 ล้านบาท หรือ
คิดเป็นร้อยละ 39.6 ของ GDP ประเทศ
วันอังคารที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2560
แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564)_(2)
ยุทธศาสตร์ที่ 2 เสริมสร้างขีดความสามารถ SME เฉพาะกลุ่ม
เป็นการส่งเสริมและพัฒนา SME เฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการความช่วยเหลือ
ที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเฉพาะสำหรับ SME
แต่ละกลุ่ม มี 3 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีมูลค่าสูง (High Value Startup):
การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ในกลุ่มที่สามารถสร้างมูลค่าได้สูง
ผ่านกระบวนการอบรมเชิงลึกและบ่มเพาะ สนับสนุนให้มีการพัฒนาศูนย์
บ่มเพาะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดตั้งศูนย์บริการด้านการออกแบบและ
ความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนการดำเนินงานของ Startup Accelerator
ให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม
ปรับปรุงกฎระเบียบและกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ
กลุ่มนี้
‣ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจของ SME:
การพัฒนาความเข้มแข็งของคลัสเตอร์และกลุ่มสหกรณ์ เชื่อมโยงให้ SME
เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมองค์การเอกชนให้
เข้มแข็ง
‣ พัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง:
การส่งเสริมให้วิสาหกิจ
ฐานรากมีความรู้ในการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่ง
เสริมกิจกรรมด้านการตลาดในท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มและ
ยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนากลไกเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริม SME อย่าง
เป็นระบบ
เป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนที่จะช่วยให้การส่งเสริมและพัฒนา SME เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น มี 2 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ พัฒนาเครื่องมือการส่งเสริม SME ให้มีประสิทธิภาพ:
การส่งเสริมให้ SME เข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ และการพัฒนาต่างๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพผ่านระบบศูนย์บริการข้อมูล สนับสนุนการใช้ผู้ให้บริการ
ธุรกิจเอกชน (Private Service Provider) ให้มากขึ้น พัฒนาระบบการ
ให้บริการด้านที่ปรึกษา พี่เลี้ยง นักวินิจฉัย และจัดทำระบบการติดตาม
และประเมินศักยภาพ SME รวมทั้งยกระดับการพัฒนามาตรฐานให้กับ
SME และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นที่ยังมีให้บริการไม่เพียงพอ
‣ ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ สิทธิประโยชน์เพื่อเอื้อและลด
อุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของ SME:
การทบทวนปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบต่างๆ ที่มีผลต่อการพัฒนา SME และกำหนดสิทธิประโยชน์
สำหรับ SME ในรูปแบบต่างๆ
สำหรับกระบวนการในการขับเคลื่อนแนวคิดและแนวทางของแผนการส่งเสริมฯ
ฉบับที่ 4 ไปสู่การปฏิบัตินั้น จะดำเนินการโดยการจัดทำ “แผนปฏิบัติการ
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” เพื่อถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การ
ดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้นทั้งในเรื่องของหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละ
แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และระยะเวลาการดำเนินงาน โดยต้องมีการ
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ที่สอดคล้องกับ
แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 4 ต่อไป นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีกระบวนการ
ติดตามและประเมินผลเพื่อวัดความก้าวหน้าหรือผลสัมฤทธิ์ในระดับต่างๆ ทั้งใน
ระดับภาพรวมของแผนการส่งเสริมฯ ระดับผลกระทบต่อ SME และระดับ
โครงการภายใต้แผนการส่งเสริมฯ
เป็นการส่งเสริมและพัฒนา SME เฉพาะกลุ่ม ซึ่งมีความต้องการความช่วยเหลือ
ที่แตกต่างกัน จำเป็นต้องมีแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาเฉพาะสำหรับ SME
แต่ละกลุ่ม มี 3 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ สร้างผู้ประกอบการใหม่ที่มีมูลค่าสูง (High Value Startup):
การพัฒนาผู้ประกอบการใหม่ในกลุ่มที่สามารถสร้างมูลค่าได้สูง
ผ่านกระบวนการอบรมเชิงลึกและบ่มเพาะ สนับสนุนให้มีการพัฒนาศูนย์
บ่มเพาะที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น จัดตั้งศูนย์บริการด้านการออกแบบและ
ความคิดสร้างสรรค์ สนับสนุนการดำเนินงานของ Startup Accelerator
ให้มีศักยภาพมากขึ้น รวมทั้งส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่เหมาะสม
ปรับปรุงกฎระเบียบและกำหนดสิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบการ
กลุ่มนี้
‣ ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายทางธุรกิจของ SME:
การพัฒนาความเข้มแข็งของคลัสเตอร์และกลุ่มสหกรณ์ เชื่อมโยงให้ SME
เข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจขนาดใหญ่ รวมทั้งส่งเสริมองค์การเอกชนให้
เข้มแข็ง
‣ พัฒนาวิสาหกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง:
การส่งเสริมให้วิสาหกิจ
ฐานรากมีความรู้ในการประกอบธุรกิจ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน ส่ง
เสริมกิจกรรมด้านการตลาดในท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มและ
ยกระดับคุณภาพมาตรฐานให้กับสินค้าและบริการ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนากลไกเพื่อขับเคลื่อนการส่งเสริม SME อย่าง
เป็นระบบ
เป็นการพัฒนาระบบสนับสนุนที่จะช่วยให้การส่งเสริมและพัฒนา SME เป็นไป
อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลมากขึ้น มี 2 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ พัฒนาเครื่องมือการส่งเสริม SME ให้มีประสิทธิภาพ:
การส่งเสริมให้ SME เข้าถึงข้อมูล องค์ความรู้ และการพัฒนาต่างๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพผ่านระบบศูนย์บริการข้อมูล สนับสนุนการใช้ผู้ให้บริการ
ธุรกิจเอกชน (Private Service Provider) ให้มากขึ้น พัฒนาระบบการ
ให้บริการด้านที่ปรึกษา พี่เลี้ยง นักวินิจฉัย และจัดทำระบบการติดตาม
และประเมินศักยภาพ SME รวมทั้งยกระดับการพัฒนามาตรฐานให้กับ
SME และพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นที่ยังมีให้บริการไม่เพียงพอ
‣ ทบทวน ปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ สิทธิประโยชน์เพื่อเอื้อและลด
อุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจของ SME:
การทบทวนปรับปรุงกฎหมาย
กฎ ระเบียบต่างๆ ที่มีผลต่อการพัฒนา SME และกำหนดสิทธิประโยชน์
สำหรับ SME ในรูปแบบต่างๆ
สำหรับกระบวนการในการขับเคลื่อนแนวคิดและแนวทางของแผนการส่งเสริมฯ
ฉบับที่ 4 ไปสู่การปฏิบัตินั้น จะดำเนินการโดยการจัดทำ “แผนปฏิบัติการ
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม” เพื่อถ่ายทอดแนวคิดไปสู่การ
ดำเนินงานที่ชัดเจนมากขึ้นทั้งในเรื่องของหน่วยงานที่รับผิดชอบในแต่ละ
แนวทางการดำเนินงาน ตัวชี้วัด และระยะเวลาการดำเนินงาน โดยต้องมีการ
ประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ ที่สอดคล้องกับ
แผนการส่งเสริมฯ ฉบับที่ 4 ต่อไป นอกจากนี้ยังได้กำหนดให้มีกระบวนการ
ติดตามและประเมินผลเพื่อวัดความก้าวหน้าหรือผลสัมฤทธิ์ในระดับต่างๆ ทั้งใน
ระดับภาพรวมของแผนการส่งเสริมฯ ระดับผลกระทบต่อ SME และระดับ
โครงการภายใต้แผนการส่งเสริมฯ
วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560
แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564)_(1)
แผนการส่งเสริม SME ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2560-2564)
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนา SME รายประเด็น
เป็นการส่งเสริมและพัฒนา SME ในประเด็น (Issue-based)
ที่สำคัญต่อการเติบโตและขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของ SME โดยมีทั้งการพัฒนา SME
ให้มีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้น
และการพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโต
และความเข้มแข็งของ SME
ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ ยกระดับผลิตภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรม: การให้ความช่วยเหลือ
SME ในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพธุรกิจ สนับสนุนการใช้
เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมให้ไปสู่เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการ
ตลาดให้กับสินค้านวัตกรรมของ SME ปรับปรุงระบบการจดสิทธิบัตร
รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานวิจัยและพัฒนา ความเชี่ยวชาญของ
หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ SME สามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกมากขึ้น
‣ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน: การสนับสนุนให้ SME เข้าถึงสินเชื่อได้
มากขึ้น และพัฒนาแหล่งเงินทุนประเภททุนให้เข้มแข็งมากขึ้น รวมทั้ง
เสริมสร้างความรู้พื้นฐานด้านการเงินให้กับ SME
‣ ส่งเสริมการเข้าถึงตลาดและการเข้าสู่สากล: การส่งเสริมการเข้าถึง
ตลาดภาครัฐ สนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุน SME ใน
การขยายตลาดต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ สร้างและพัฒนาผู้ส่งออกราย
ใหม่ รวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ SME ในการไปลงทุนในต่างประเทศ
‣ พัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ: การสร้างความตระหนัก
และแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้าง
ความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในด้านองค์ความรู้และทักษะ
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมและพัฒนา SME รายประเด็น
เป็นการส่งเสริมและพัฒนา SME ในประเด็น (Issue-based)
ที่สำคัญต่อการเติบโตและขีดความสามารถในการแข่งขัน
ของ SME โดยมีทั้งการพัฒนา SME
ให้มีทักษะความสามารถเพิ่มขึ้น
และการพัฒนาระบบนิเวศ (Ecosystem) ที่ช่วยสนับสนุนการเติบโต
และความเข้มแข็งของ SME
ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ ดังนี้
‣ ยกระดับผลิตภาพ เทคโนโลยี และนวัตกรรม: การให้ความช่วยเหลือ
SME ในการพัฒนาประสิทธิภาพและผลิตภาพธุรกิจ สนับสนุนการใช้
เทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรมให้ไปสู่เชิงพาณิชย์ ส่งเสริมด้านการ
ตลาดให้กับสินค้านวัตกรรมของ SME ปรับปรุงระบบการจดสิทธิบัตร
รวมทั้งพัฒนาระบบฐานข้อมูลผลงานวิจัยและพัฒนา ความเชี่ยวชาญของ
หน่วยงานต่างๆ เพื่อให้ SME สามารถใช้บริการได้อย่างสะดวกมากขึ้น
‣ ส่งเสริมการเข้าถึงแหล่งเงินทุน: การสนับสนุนให้ SME เข้าถึงสินเชื่อได้
มากขึ้น และพัฒนาแหล่งเงินทุนประเภททุนให้เข้มแข็งมากขึ้น รวมทั้ง
เสริมสร้างความรู้พื้นฐานด้านการเงินให้กับ SME
‣ ส่งเสริมการเข้าถึงตลาดและการเข้าสู่สากล: การส่งเสริมการเข้าถึง
ตลาดภาครัฐ สนับสนุนการใช้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ สนับสนุน SME ใน
การขยายตลาดต่างประเทศในรูปแบบต่างๆ สร้างและพัฒนาผู้ส่งออกราย
ใหม่ รวมทั้งอำนวยความสะดวกแก่ SME ในการไปลงทุนในต่างประเทศ
‣ พัฒนาและส่งเสริมความเป็นผู้ประกอบการ: การสร้างความตระหนัก
และแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ในการเป็นผู้ประกอบการ รวมทั้งสร้าง
ความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการใหม่ในด้านองค์ความรู้และทักษะ
วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ภาวะเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (2559)
ภาวะเศรษฐกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ SME หรือ GDP SME ในไตรมาส
แรก ของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.1 นับเป็นการขยายตัว 7 ไตรมาสติดต่อกัน โดยมี
มูลค่า 1.49 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วน GDP SME ขยับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.3 จากร้อย
ละ 41.1 ในปี 2558
การส่งออกของ SMEs ในเดือนมีนาคม ปี 2559 มีมูลค่า 200,043 ล้านบาท
ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.0 และเมื่ออยู่ในรูปดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่า
การส่งออกขยายตัวร้อยละ 11.6 โดยสัดส่วนของการส่งออกของ SMEs ต่อการส่งออก
รวมเท่ากับร้อยละ 29.6 โดย SMEs ยังคงมีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน
มากที่สุด มีมูลค่า 55,114 ล้านบาท
รองลงมาได้แก่ประเทศจีน มีมูลค่าการส่งออก 21,306 ล้านบาท
และประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 18,287 ล้านบาท สาหรับสินค้าส่งออก
สาคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่
กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มพลาสติกและของที่ทาด้วย
พลาสติก และเครื่องจักร และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ด้านธุรกิจภาคการค้าและบริการ โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ เดือน
มีนาคม 2559 เท่ากับ 50.2 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับค่าดัชนีในเดือนก่อน ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่
ระดับ 46.3 เช่นเดียวกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าของเดือนมีนาคม
2559 ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 52.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 52.3 ในเดือนก่อน แสดงถึงความ
เชื่อมั่นของ SMEs ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการเนื่องจากใกล้เข้าสู่เทศกาล
สงกรานต์
การจัดตั้งและสิ้นสภาพกิจการเดือนมีนาคม 2559 พบว่า ในส่วนการจัดตั้งกิจการ
ใหม่ในระดับประเทศ มีจานวน 6,176 ราย ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.4 ส่วนการยกเลิกกิจการมีจานวน 1,183 ราย ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 0.2
มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศของ SME หรือ GDP SME ในไตรมาส
แรก ของปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 5.1 นับเป็นการขยายตัว 7 ไตรมาสติดต่อกัน โดยมี
มูลค่า 1.49 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วน GDP SME ขยับเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 42.3 จากร้อย
ละ 41.1 ในปี 2558
การส่งออกของ SMEs ในเดือนมีนาคม ปี 2559 มีมูลค่า 200,043 ล้านบาท
ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 22.0 และเมื่ออยู่ในรูปดอลล่าร์สหรัฐ มูลค่า
การส่งออกขยายตัวร้อยละ 11.6 โดยสัดส่วนของการส่งออกของ SMEs ต่อการส่งออก
รวมเท่ากับร้อยละ 29.6 โดย SMEs ยังคงมีมูลค่าการส่งออกไปยังกลุ่มประเทศอาเซียน
มากที่สุด มีมูลค่า 55,114 ล้านบาท
รองลงมาได้แก่ประเทศจีน มีมูลค่าการส่งออก 21,306 ล้านบาท
และประเทศญี่ปุ่น มีมูลค่าการส่งออก 18,287 ล้านบาท สาหรับสินค้าส่งออก
สาคัญ 3 อันดับแรก ได้แก่
กลุ่มอัญมณีและเครื่องประดับ กลุ่มพลาสติกและของที่ทาด้วย
พลาสติก และเครื่องจักร และคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
ด้านธุรกิจภาคการค้าและบริการ โดยดัชนีความเชื่อมั่นภาคการค้าและบริการ เดือน
มีนาคม 2559 เท่ากับ 50.2 ปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับค่าดัชนีในเดือนก่อน ที่มีค่าดัชนีอยู่ที่
ระดับ 46.3 เช่นเดียวกับค่าดัชนีความเชื่อมั่นคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าของเดือนมีนาคม
2559 ค่าดัชนีอยู่ที่ระดับ 52.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากระดับ 52.3 ในเดือนก่อน แสดงถึงความ
เชื่อมั่นของ SMEs ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจภาคบริการเนื่องจากใกล้เข้าสู่เทศกาล
สงกรานต์
การจัดตั้งและสิ้นสภาพกิจการเดือนมีนาคม 2559 พบว่า ในส่วนการจัดตั้งกิจการ
ใหม่ในระดับประเทศ มีจานวน 6,176 ราย ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
ร้อยละ 8.4 ส่วนการยกเลิกกิจการมีจานวน 1,183 ราย ขยายตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน ร้อยละ 0.2
วันพุธที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สมคิด กล่าวสุนทรพจน์ที่ญี่ปุ่น "อนาคตเอเชีย"
ภาพ/ข่าว : NIKKEI
การประชุมระหว่างประเทศที่ประเทศญี่ปุ่น วันที่ 6 มิถุนายน 2560 ที่ผ่านมา
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวสุนทรพจน์ "อนาคตเอเชีย"
สมคิดกล่าวว่า สำหรับจีนนั้นต้อง "ไปพร้อมกัน"
แนวคิดก็คือ ไม่เพียงแต่ในเอเชียจะได้ใกล้ชิดกับ ยุโรป แอฟริกา
รวมถึงความสัมพันธ์กับอเมริกาที่ต้องไปพร้อมกัน
เพื่อเป็นแรงผลักดันที่อยู่เบื้องหลังการขยายตัวของการค้าโลก
สมคิดยังเรียกร้องเกี่ยวกับการขนส่ง การสื่อสารและโลจิสติก
เครือข่ายและการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ที่มีความสำคัญเช่นกัน
สมคิดชี้ให้เห็นว่าเอเชียมีศักยภาพมาก
ประเทศไทยจะเข้าร่วมโครงการก่อสร้างเครือข่ายรถไฟความเร็วสูง
จากคุนหมิงไปสู่สิงคโปร์เพื่อเชื่อมโยงกัน
สมคิดกล่าวว่านอกเหนือจากการโครงการดังกล่าว
ความร่วมมือในวงกว้างยังมุ่งเป้าไปที่การปรับปรุงระดับของกลยุทธ์การพัฒนาภูมิภาค
และการร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านยังเป็นสิ่งสำคัญ
เขายังกล่าวว่า ประเทศไทยจะทำงานร่วมกับประเทศในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
คือ กัมพูชา ลาวและเวียดนาม เพื่อร่วมกันส่งเสริมยุทธศาสตร์การพัฒนาร่วมกัน
นอกจากนี้ในการพัฒนาของแผนกลยุทธ์ การร้องขอความช่วยเหลือกับ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย
และประเทศขนาดใหญ่อื่น ๆ "จะมีบทบาทสำคัญ"
นอกจากนี้สมคิดยังกล่าวถึงความร่วมมือในข้อตกลง Trans-Pacific Partnership (TPP)
( หรือ ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก คือ
ข้อตกลงการค้าเสรีของประเทศในแถบแปซิฟิกที่กำหนดขึ้นเพื่อเพิ่มการค้า
การบริการและการลงทุนในกลุ่มประเทศสมาชิก อีกทั้งสร้างมาตรฐานการค้าและกฎระเบียบร่วมกัน
ในเรื่องการป้องกันทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐานแรงงาน กฎหมายด้านสิ่งแวดล้อม และกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ โดยปัจจุบันสมาชิกที่เข้าร่วม TPP ประกอบไปด้วย 12 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐฯ ญี่ปุ่น แคนาดา ชิลี เม็กซิโก เปรู ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน
และเวียดนาม คิดเป็นสัดส่วนราว 40% ของ GDP โลก ทั้งนี้ทำให้ TPP เป็นข้อตกลงเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก)
และยังกล่าวว่า "ความพยายามของญี่ปุ่นที่สมควรได้รับการสนับสนุน"
นอกจากนี้เขายังแสดงความคาดหวังที่จะบรรลุความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่ครอบคลุม
RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ“ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคของอาเซียน” ประเทศอาเซียนและภูมิภาคเอเชียตะวันออกจีนและอินเดียจะมีส่วนร่วมได้โดยเร็วที่สุด
สมคิดกล่าวว่า "ถ้าคุณไม่สามารถปรับปรุงความเกี่ยวข้องนโยบายมันเป็นเรื่องยากที่การผลิตในเอเชียจะมีศักยภาพ"
โดยทั้งนี้รัฐบาลไทยยังการส่งเสริมการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน
และกล่าวเสริมว่า "บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยมีถึง 7000 บริษัท ไม่มีญี่ปุ่นไม่ได้ตอนนี้ประเทศไทย
และยังแสดงความคาดหวังการลงทุนเพิ่มเติมจากประเทศญี่ปุ่น.
วันอังคารที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2560
ปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ อาเซียน 2025 มุ่งหน้าไปด้วยกัน
ปฏิญญากรุงกัวลาลัมเปอร์ว่าด้วย อาเซียน 2025 มุ่งหน้าไปด้วยกัน
เรา ประมุขแห่งรัฐ
หรือหัวหน้ารัฐบาลของประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ (ซึ่งต่อไปนี้จะเรียกว่า
อาเซียน) ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม ราชอาณาจักรกัมพูชา
สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มาเลเซีย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐสิงคโปร์
ราชอาณาจักรไทย และสาธารณรัฐ
สังคมนิยมเวียดนาม
ในโอกาสการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
ระลึกถึง
จิตวิญญาณที่บิดาผู้ก่อตั้งอาเซียนได้รวมตัวกัน ณ กรุงเทพฯ ในปี ค.ศ. 1967
เพื่อก่อตั้งสมาคม
ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีสันติภาพ เสรีภาพ
และความเจริญรุ่งเรืองสำหรับประชาชนของเรา
ยืนยัน
พันธกรณีที่มีต่อวัตถุประสงค์และหลักการที่ปรากฏในปฏิญญาอาเซียน (กรุงเทพฯ
ค.ศ. 1967)
ปฏิญญาว่าด้วยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ
และความเป็นกลาง (กรุงกัวลาลัมเปอร์ ค.ศ. 1971)
สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (บาหลี ค.ศ. 1976)
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน (บาหลีค.ศ. 1976)
สนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
(กรุงเทพฯ ค.ศ. 1995)
วิสัยทัศน์อาเซียน ค.ศ.
2020 (กรุงกัวลาลัมเปอร์ ค.ศ. 1997)
ปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2
(บาหลี ค.ศ. 2003)
และปฏิญญาบาหลีว่าด้วยประชาคมอาเซียนในประชาคมโลก (บาหลี ค.ศ.
2011)
ยืนยัน
วัตถุประสงค์และหลักการที่ปรากฏในกฎบัตรอาเซียน ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความปรารถนา
และเจตนารมณ์ร่วม ที่จะอาศัยอยู่ในภูมิภาคที่มีสันติภาพ
ความมั่นคง และเสถียรภาพที่ยืนยง
มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
มีความมั่งคั่งร่วมกัน และมีความก้าวหน้าทางสังคม
และส่งเสริมผลประโยชน์ อุดมคติ
และความใฝ่ฝันของอาเซียน
ตระหนักว่า
ภูมิยุทธศาสตร์ของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นำมาซึ่งโอกาสและ
ความท้าทาย ซึ่งอาเซียนจะต้องตอบสนองในเชิงรุก
เพื่อให้อาเซียนมีความสำคัญและรักษา
ความเป็นแกนกลางและบทบาทของอาเซียนในฐานะผู้ขับเคลื่อนหลักในโครงสร้างสถาปัตยกรรม
ภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป
ตระหนักถึง
เจตนารมณ์ของเราในปฏิญญาบันดาร์เสรีเบกาวันว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน
ภายหลังปี ค.ศ. 2015และปฏิญญาเนปิดอว์ว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี ค.ศ.2015
ซึ่งจะกำหนดทิศทางในอนาคตของอาเซียนที่มีเอกภาพทางการเมือง
มีการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
มีความรับผิดชอบต่อสังคม ทำเพื่อประชาชนและ
มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และยึดมั่นใน
กฎกติกาอย่างแท้จริง
เน้นย้ำ
ความสำคัญของการปฏิบัติตามรายงานและข้อเสนอแนะของคณะทำงานระดับสูง
ว่าด้วยการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สำนักเลขาธิการอาเซียนและการทบทวนองค์กรต่าง
ๆ
ของอาเซียน
ที่ได้รับความเห็นชอบแล้วในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 25 ณ เนปิดอว์
ตระหนักถึง
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติตามแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน
(ค.ศ. 2009-2015)
ซึ่งประกอบด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคง
อาเซียน แผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
และแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม
และวัฒนธรรมอาเซียน
รวมทั้งแผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 2 และ
แผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงของอาเซียน
ต้อนรับ การจัดตั้งประชาคมอาเซียน ค.ศ. 2015 อย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบด้วยประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม
อาเซียน และชื่นชม
การทำงานของคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนภายหลังปี
ค.ศ. 2015รวมทั้งคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน
คณะทำงานระดับสูงว่าด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ
และคณะทำงานระดับสูงว่าด้วยประชาคม
สังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักเลขาธิการอาเซียนในการจัดทำ
แผนงานประชาคมอาเซียนทั้ง 3 ฉบับ
ในการนี้ จึง
1. รับรอง วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน2025 และแผนงานประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียน 2025 แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 และแผนงาน
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 2025
2. เห็นพ้องว่า ปฏิญญาฉบับนี้
และวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025
และแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน2025
แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025
และแผนงานประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
2025
ตามเอกสารแนบรวมกันเป็นเอกสาร “อาเซียน
2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน”
3. ตัดสินใจว่า “อาเซียน
ค.ศ. 2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน” เป็นเอกสารทดแทนแผนงาน
การจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ 2009-2015)
4. ตัดสินใจอีกว่า
แผนงานข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 3 และ
ความเชื่อมโยงอาเซียน ค.ศ. 2025 ที่จะรับรองในปี ค.ศ.2016 จะเป็นส่วนหนึ่ง
ของ“อาเซียน ค.ศ. 2025 : มุ่งหน้าไปด้วยกัน”
5. มอบหมาย ให้ประเทศสมาชิกอาเซียน
รวมทั้งองค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน
ดำเนินการตาม“อาเซียน
ค.ศ.2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน” อย่างมีประสิทธิภาพ
และทันท่วงที
ตามวัตถุประสงค์และหลักการของกฎบัตรอาเซียน
..........................................................................................................................
..........................................................................................................................
กรุงกัวลาลัมเปอร์ มาเลเซีย ในวันที่ 22 พฤศจิกายน ค.ศ. 2015
“ฮิตาชิ” เล็งส่งคณะมาไทย สนผลิตตู้รถไฟฟ้าในอีอีซี
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
รมว.คมนาคมเผยผลหารือตัวแทนฮิตาชิ ไทยเสนอให้ลงทุนอุตสาหกรรมสมัยใหม่รองรับเศรษฐกิจดิจิตอล เผยฝ่ายญี่ปุ่นสนใจผลิตตู้รถไฟฟ้าในอีอีซีแต่ต้องการันตีความต้องการ 1,000 ตู้ขึ้น โดยไทยเตรียมทำแผนแม่บทพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมรถไฟในเขต CLMV รองรับ คาดฮิตาชิส่งคณะมาไทยเร็วๆ นี้
วันนี้ (6 มิ.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงการหารือร่วมกับตัวแทนบริษัทฮิตาชิ ประเทศญี่ปุ่น ที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว เมื่อช่วงบ่ายวานนี้ว่า ปัจจุบันไทยเป็นลูกค้าของฮิตาชิในการซื้อหัวรถจักรดีเซลอยู่แล้ว และรถไฟฟ้าสายสีแดงก็จะใช้ระบบรถของฮิตาชิ ซึ่งจะมีประมาณ 130 กว่าตู้ ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบ จะเริ่มผลิตได้ในปีหน้า และทยอยส่งมอบในปี 2562 ซึ่งเราก็อยากให้เขาเร่ง แต่ว่ารถไฟฟ้าสายสีแดงนั้นดำเนินงานในรูปแบบบริษัทร่วมค้าระหว่างฮิตาชิ กับซูมิโตโม และมิตซูบิชิที่ดูเรื่องระบบอาณัติสัญญาณ
รถไฟฟ้าสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต
นายอาคมกล่าวอีกว่า ฮิตาชิมีธุรกิจหลายอย่างในไทย เช่น การผลิตลิฟต์ บันไดเลื่อน มีศูนย์อยู่ในประเทศไทย แต่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี อยากให้มองธุรกิจอื่น นอกเหนือจากเครื่องไฟฟ้า ซึ่งปัจจุบันมีการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตด้วย โดยอยากให้เขามองถึงการลงทุนในไทยเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต การบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) ซึ่งทางฮิตาชิยอมรับว่าไม่ได้คิดเรื่องนี้ เราก็บอกว่าเรากำลังจะมุ่งไปสู่เศรษฐกิจดิจิตอล ที่เราอยากได้เช่นการใช้ข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อบริการจราจร เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทางฮิตาชิก็มีความเชี่ยวชาญเรื่องระบบความปลอดภัย เช่น ระบบกล้องซีซีทีวี ซึ่งทางฮิตาชิจะมีคณะทำงานมาดูลู่ทางลงทุนในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะ ซึ่งเราก็บอกว่าเขามีโอกาสเพราะเป็นเขตอุตสาหกรรมยุคใหม่ มีการคมนาคมทันสมัย ซึ่งเขาบอกว่าเขาจะมาเร็วๆ นี้ และทางเราจะมีคณะทำงานดูแลเป็นพิเศษ และจะให้บีโอไอให้รายละเอียด
นายอาคมกล่าวอีกว่า ทางฮิตาชิมีเรื่องสำคัญอีกเรื่อง คือ การผลิตระบบรถไฟฟ้าป้อนให้ประเทศต่างๆ ขณะนี้มีอังกฤษเป็นตลาดหลัก ประมาณ 1,500-1,600 ตู้ ขณะที่รถไฟฟ้าสายสีแดงในไทยมี 130 กว่าตู้ เราจึงเชิญชวนให้เขามาตั้งโรงงานประกอบและซ่อมบำรุงในไทย รวมทั้งทำตลาดในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ในกลุ่มประเทศกัมพูชา-ลาว-พม่า-เวียดนาม (CLMV) กลุ่มอาเซียน ซึ่งถ้ามีความต้องการที่มากพอเขาก็สนใจเข้ามาลงทุน แต่ขอหลักประกันว่าต้องมีความต้องการ 1,000 ตู้ขึ้นไป อย่างไรก็ตาม รถไฟฟ้าในไทยแต่ละสายก็จะใช้คนละยี่ห้อ ถ้าความต้องการฮิตาชิยี่ห้อเดียวอาจไม่พอ ซึ่งทางฮิตาชิก็พร้อมที่จะกลับไปคิดดู โดยปัจจุบันฮิตาชิมีลูกค้าหลักอยู่ที่อังกฤษ และไต้หวัน และถ้าเข้ามาลงทุนในไทยเขาก็ต้องหาตลาดเอง แต่ก็มีตลาดใน CLMV รองรับ ซึ่งเราต้องทำแผนแม่บทในการทำโครงสร้างพื้นฐานร่วมกันในกลุ่ม CLMV ในการเชื่อมโยงทางรถไฟ ซึ่งตอนนี้เรายังเชื่อมทางรถไฟระหว่างกันไม่ครบ
อนึ่ง เมื่อเวลา 15.30-16.15 น.วันนี้ที่ 5 มิ.ย. 2560 ตามเวลาท้องถิ่น ตัวแทนบริษัทฮิตาชิ ประกอบด้วย นายฮิกาชิฮารา ประธานและซีอีโอ นายทานาเบะ รองประธานอาวุโส นายโอกะ หัวหน้าสายธุรกิจระบบราง และนายยามากาวา ผู้อำนวยการฝ่ายธุรกิจระบบราง ได้เข้าพบปะหารือกับนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ และนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการอุตสาหกรรม ที่โรงแรมอิมพีเรียล กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น .
ที่มา : http://www.manager.co.th/iBizChannel/ViewNews.aspx?NewsID=9600000057627
วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2560
สมคิดย้ำหอการค้าทั่วประเทศ เร่งปฏิรูปและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
รองนายกรัฐมนตรีย้ำหอการค้าทั่วประเทศเร่งปฏิรูปและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก พร้อมให้ภาคธุรกิจพลิกวิกฤตให้กลายเป็นโอกาส
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี
กล่าวปาฐกถาพิเศษ
"ก้าวต่อไปในการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ(Local
Economy)" ในงานการประชุมใหญ่หอการค้าภาค 5 ภาค ประจำปี 2560 ว่า
จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆ
ในซีกโลกตะวันตกส่งผลให้ประเมินสถานการณ์การเติบโตเศรษฐกิจโลกในปีหน้าได้ค่อนข้างยาก
โดยหลายประเทศทั่วโลกเริ่มเตรียมการขยับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
โดยเฉพาะปีนี้เกิดความผันผวนของระบบเศรษฐกิจมาก ทั้งการค้า การเงิน
และธุรกิจที่กระทบทั่วโลกไม่ใช่แค่ประเทศไทยเท่านั้น
ซึ่งกลุ่มธุรกิจต้องใช้โอกาสนี้เปลี่ยนวิกฤตให้กลายเป็นโอกาสของการลงทุน
ที่สำคัญที่ผ่านมาไทยสามารถหยุดยั้งการทรุดตัวของเศรษฐกิจได้ดีในระดับที่น่าพอใจ
เพื่อดึงความเชื่อมั่นของประเทศให้กับนักลงทุน
แต่ต้องพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้ามากกว่านี้ รองรับการเปลี่ยนแปลงของโลก
เนื่องจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เมียนมา มีการเติบโตทางเศรษฐกิจถึงปีละร้อยละ 5-7 ขณะที่ไทยกลับลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปี จากปัญหาโครงสร้างประเทศ ไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงโลก ดังนั้น หอการค้าไทยต้องเร่งพัฒนาและยกระดับสมรรถนะของภาคเอกชน ทั้งกลุ่มเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย โดยให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาช่วยเหลือ ควบคู่กับการปฏิรูปและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน ด้วยการเน้นการเติบโตเศรษฐกิจจากภายในประเทศ เช่น พัฒนาคนให้เข้มแข็ง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิต เพื่อหวังสร้างความเชื่อมั่นในการปรับอันดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย ที่ถูกจัดอันดับโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาการจัดการ (IMD)
เนื่องจากช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศเพื่อนบ้านอย่างกัมพูชา เมียนมา มีการเติบโตทางเศรษฐกิจถึงปีละร้อยละ 5-7 ขณะที่ไทยกลับลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปี จากปัญหาโครงสร้างประเทศ ไม่รองรับการเปลี่ยนแปลงโลก ดังนั้น หอการค้าไทยต้องเร่งพัฒนาและยกระดับสมรรถนะของภาคเอกชน ทั้งกลุ่มเอสเอ็มอี ผู้ประกอบการรายย่อย โดยให้ผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาช่วยเหลือ ควบคู่กับการปฏิรูปและเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคเอกชน ด้วยการเน้นการเติบโตเศรษฐกิจจากภายในประเทศ เช่น พัฒนาคนให้เข้มแข็ง เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการผลิต เพื่อหวังสร้างความเชื่อมั่นในการปรับอันดับความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย ที่ถูกจัดอันดับโดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาการจัดการ (IMD)
รองนายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำว่า อยากให้หอการค้าทั่วประเทศเดินหน้าเชื่อมโยงกลุ่มเครือข่ายประชาชนทั้งหมด เพื่อมาขับเคลื่อนไปพร้อมกัน พร้อมทั้งเชื่อมโยงระบบอินเตอร์เน็ตและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาสร้างความเข็มแรงของเศรษฐกิจของระบบเศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศ
กดชมคลิป "ก้าวต่อไปในการสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ(Local Economy)"
วันพุธที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
รองนายกรัฐมนตรีสมคิด มั่นใจไทยส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร ทะลุเป้า 9 แสนล้านบาท
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มั่นใจปีนี้ไทยส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร
ทะลุ 9 แสนล้านบาท
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวในงานเปิดงานแสดงสินค้า THAIFEX-World of food Asia 2017 ว่าปัจจุบันไทยส่งออกสินค้าทางการเกษตรและอาหารเฉลี่ยปีละ 8 แสนล้านบาท
และปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่า 26,538 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเพิ่มขึ้น 8 % จากปีที่แล้ว และคิดเป็นมูลค่าประมาณ 9 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ประมาณ 5% เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความเชื่อมั่นในสินค้าไทยเพิ่มมากขึ้น
และเนื่องจากประเทศคู่แข่งในการส่งออกอาหารหลายประเทศ ประสบปัญหาภัยแล้งและโรคระบาด ส่งผลให้ผลผลิตลดลง และส่งออกได้ลดลง ทำให้ผู้นำเข้าหลายประเทศหันมานำเข้าสินค้าจากไทยมากขึ้น เนื่องจากไทยมีมารตราฐานความปลอดภัยทางด้านอาหาร มีการคุ้มครองแรงงาน
รัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก Eastern Economic Corridor : EEC (อีอีซี) ที่ผนวกเข้ากับการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและนวัตกรรม เข้ามาพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ที่มีเป้าหมายใน 10 อุตสาหกรรม โดยมีอุตสาหรรมทางด้านอาหารรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
โดยเฉพาะการส่งเสริมอาหารเพื่อการป้องกันและแก้โรคภัยไข้เจ็บ ที่จะเป็นการเพิ่มมูลค่าอาหารไทยในอนาคต โดยให้กระทรวงพาณิชย์เพิ่มช่องทางการนำสินค้าสู่ผู้บริโภค และส่งเสริมให้เกิดการค้าขายผ่านออนไลน์ ปรับปรุงโลจิสติกส์ให้มีความสะดวกมากขึ้น โดยมั่นใจว่าจะสามารถผลักดันให้ไทยเป็นครัวของโลกได้อย่างแน่นอน
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ไทยสามารถส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไปยังประเทศต่างๆ มากกว่า 200 ประเทศทั่วโลก มีมูลค่ามากกว่า 8 แสนล้านบาท และมีสินค้าอาหารไทยอยู่ใน 5 อันดับแรกในตลาดโลกได้แก่ ข้าว ไก่แปรรูป อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป กุ้งแช่แข็งและแปรรูป และสิ่งปรุงอาหาร
ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะเร่งเดินหน้าและพัฒนาศักยภาพในอุตสาหกรรมอาหารของไทยต่อไป เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นครัวของโลกตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งที่ผ่านมา ได้เพิ่มความสามารถให้กับผู้ประกอบการไทยอย่างต่อเนื่อง และมีแผนผลักดันให้นำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการผลิต เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าด้วย
นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การจัดงานในปีนี้มีผู้เข้าร่วมงานกว่า 2,200 บริษัท 5,200 คูหา จาก 40 ประเทศ และเป็นปีแรกที่กลุ่มห้างค้าปลีกรายใหญ่สมัยใหม่รายใหญ่ เช่น แม็คโคร บิ๊กซี ท๊อปส์ซุปเปอร์มาร์เก็ต เข้าร่วมงาน และยังมีผู้ประกอบการรายใหม่เข้าร่วมกว่า 30% โดยกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศตั้งเป้าหมายมีผู้เข้าชมงานประมาณ 150,000 คน และมีมูลค่าการสั่งซื้อในงานจะไม่น้อยกว่าในปีที่ผ่านมา หรือประมาณ 10,00 ล้านบาท เพราะสภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าสำคัญมีแนวโน้มดีขึ้น จึงคาดว่าความต้องการสินค้าอาหารทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น.
cr : http://www.thairath.co.th/content/958557
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงานแสดงสินค้าอาหาร 2560 กดชมคลิป
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)