วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2565

[EEC] Eastern Economic Corridor

 The Eastern Economic Corridor (EEC) is a major economic development project in Thailand. It is a designated area along the country's eastern seaboard, covering the provinces of Chonburi, Rayong, and Chachoengsao. The EEC is aimed at promoting investment, innovation, and development in a range of industries, including advanced manufacturing, tourism, and digital technology.


The EEC was first proposed by the Thai government in 2016, and has since received significant investment and support from both the public and private sectors. The goal of the project is to transform the region into a hub for high-tech industries and innovation, making it an attractive destination for foreign investors and businesses.


One of the key features of the EEC is its infrastructure development. The Thai government has committed to investing billions of dollars in the construction of new roads, airports, ports, and other transportation facilities in the region. This will not only make it easier for businesses to operate in the EEC, but also help to stimulate economic growth and development.


In addition to its infrastructure development, the EEC also focuses on promoting the growth of key industries. For example, the region is home to a number of advanced manufacturing and technology companies, as well as research and development centers. The EEC also encourages the development of tourism, with a focus on sustainable and eco-friendly tourism practices.


The EEC has already attracted significant investment from both domestic and international companies. Many major corporations, including Toyota, Samsung, and Siemens, have established operations in the region, and more are expected to follow suit. The Thai government is also working closely with these companies to provide support and assistance with their operations.


Overall, the Eastern Economic Corridor is a major economic development project in Thailand, with the potential to transform the country's eastern seaboard into a hub for innovation and growth. It is an exciting time for the region, and it will be interesting to see how the EEC continues to evolve and develop in the coming years.

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2563

เร่งแก้ปัญหางานส่วนเพิ่ม หนุนรถไฟชานเมืองสายสีแดงเดินหน้า



รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุ รถไฟชานเมืองสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต ) ยังมีปัญหาในส่วนของงานส่วนเพิ่มที่ทำไปแล้ว มูลค่างาน 10,345 ล้านบาท พร้อมสั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการนี้ในช่วงที่ผ่านมาไปหาข้อมูลและทำให้เกิดความชัดเจน
วันนี้ (2 ส.ค.2563) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า สัปดาห์ที่ผ่านมามีการประชุมร่วมกับปลัดกระทรวงคมนาคม, ผู้บริหารกรมการขนส่งทางราง บอร์ด และผู้บริหาร การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เกี่ยวกับการแก้ไขปัญหารถไฟชานเมืองสายสีแดง(ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) นอกจากกำหนดการเปิดให้บริการซึ่งตามแผนเดิม รฟท.วางกำหนดการที่โครงการจะเปิดให้บริการอย่างไม่เป็นทางการในเดือนมีนาคมปี 2564 และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในปลายปีเดียวกัน แต่ขณะนี้โครงการประสบปัญหาความล่าช้าในส่วนของการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อ ซึ่งเอกชนผู้รับเหมางาน ขอขยายระยะเวลาก่อสร้างมากกว่า 500 วัน แต่บอร์ด รฟท.อนุมัติขยายระยะเวลาเพียง 87 วันเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีปัญหาเรื่องการบริหารการเดินรถซึ่งกระทรวงคมนาคมเห็นว่าเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่องบประมาณ ควรใช้วิธีร่วมทุนแบบ PPP เอกชนมาร่วมทุนบริหารการเดินรถ โดยแนวทางดังกล่าวอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้
ปล่อยเสียง
รมว.คมนาคม ยอมรับว่า พบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับงานส่วนเพิ่ม Variation Order (VO) วงเงิน 10,345 ล้านบาท ซึ่งถูกระบุเป็นค่างานระบบอาณัติสัญญาณ, ภาษี และค่าจ้างที่ปรึกษา ที่ดำเนินไปแล้ว แต่โครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดงใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) รวมทั้งโครงการที่เริ่มดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปี 2555 มีการขยายกรอบวงเงิน 2 ครั้ง จนล่าสุดมีวงเงินก่อสร้างรวม 93,950 ล้านบาท และคงจะไม่สามารถใช้เงินกู้จากไจก้าในส่วนของงานส่วนเพิ่มได้อีก
พร้อมกันนี้ ยังได้สั่งให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการนี้ในช่วงที่ผ่านมา ไปหาข้อมูลและทำให้เกิดความชัดเจน จะต้องศึกษาดูความเป็นไปได้ว่า จะไปหาวงเงินก้อนนี้จากไหน เพราะหากจะขอจัดสรรจากงบประมาณ การดำเนินการต้องไม่ขัดต่อกฎหมาย ซึ่งเรื่องนี้ ได้มอบหมายให้ปลัดกระทรวงคมนาคมและทุกหน่วยงานทำข้อมูลให้ชัดเจนภายใน 2 สัปดาห์
สำหรับปัญหางานส่วนที่เพิ่ม Variation Order (VO) ในโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง เป็นงานที่เอกชนได้ดำเนินการไปแล้ว และแจ้งให้หน่วยงานภาครัฐทราบเพื่อขอเคลมค่างาน ซึ่งประเด็นนี้วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท หากภาครัฐปฏิเสธการชำระ ยังไม่เกิดความชัดเจนว่าเอกชนจะยอมแบกรับเงินลงทุนดังกล่าวหรือไม่


หากเอกชนไม่ยอมรับภาระ ยืนยันให้ภาครัฐจัดหาเงินค่างานมาชำระ ก็จะกลายเป็นข้อพิพาท ระหว่างภาครัฐกับเอกชนผู้รับงาน อาจกลายเป็นค่าโง่ และไม่ทราบว่าจะกระทบต่อกำหนดการการเปิดให้บริการหรือไม่ ในขณะที่ข้อมูลเชิงลึกระบุว่า คนเซ็นอนุมัติให้มีการก่อสร้างงานส่วนเพิ่ม เป็นเจ้าหน้าที่บริหารโครงการระดับเล็กมาก และเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องนี้ เป็นไปได้ว่ากระทรวงคมนาคมจะมีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนประเด็นดังกล่าวขึ้น
สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (ตลิ่งชัน-บางซื่อ-รังสิต) ครม.ได้อนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมขณะนั้น เสนอปรับกรอบวงเงินลงทุนรวมของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางรางในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน โดยมีกรอบวงเงินโครงการรวม 93,950 ล้านบาท จากเดิม 75,548 ล้านบาท ตามที่ รฟท.เสนอ โดยเป็นกรอบวงเงินที่ครอบคลุมงานปรับแบบรายละเอียดตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 3 ก.พ.2558 ไว้แล้ว และมอบหมายให้กระทรวงการคลังดำเนินการขยายวงเงินกู้เพิ่มเติมให้ครอบคลุมการปรับกรอบวงเงิน
ขณะเดียวกันมีข้อมูล ระบุว่า การต้องขยายกรอบวงเงินอีก 10,345 ล้านบาทนี้ เป็นค่างานส่วนเพิ่มที่ครอบคลุมทั้งในสัญญาที่ 1 คืองานก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อและปรับเขตทางรถไฟ เพื่อให้ครอบคลุมจำนวนรางหรือ Track ที่มีในโครงการ รวมถึงงานส่วนเพิ่มในสัญญาที่ 2 และสัญญาที่ 3 ที่เป็นระบบอาณัติสัญญาณด้วย
ขณะที่มีรายงานข่าวจากผู้บริหารการรถไฟ ระบุว่า วงเงินส่วนเพิ่มนี้ในช่วงที่ผ่านมา สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กระทรวงการคลัง เคยรับทราบกรอบวงเงินแล้ว หลังจากที่ไม่สามารถกู้เงินไจก้าได้ โดย สบน.ระบุว่า จะมีการจัดหาแหล่งเงินกู้ในประเทศหรือต่างประเทศ เข้ามารองรับวงเงินดังกล่าว แต่ก็ต้องมีการรายงานที่มาของแหล่งเงินกู้ใหม่ ให้ไจก้าทราบ

ที่มา : news.thaipbs.or.th


วันพฤหัสบดีที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2563

“บิ๊กตู่” เปิดทำเนียบรัฐบาล รับฟังวิสัยทัศน์ผู้ประกอบการธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์

“บิ๊กตู่” เปิดทำเนียบรัฐบาล รับฟังวิสัยทัศน์ผู้ประกอบการธุรกิจและอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้ 5 หัวข้อหลัก หวังช่วยรัฐบาลเดินหน้าเศรษฐกิจ นำพาประเทศไปสู่ความสำเร็จ


เมื่อเวลา 09.30 น. วันที่ 3 ก.ย. 2563 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน หารือตัวแทนและผู้ประกอบการในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีกและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce เพื่อรับฟังข้อเสนอวิสัยทัศน์และความคิดเห็นในการขับเคลื่อนแต่ละภาคธุรกิจที่จะเป็นประโยชน์กับประเทศ และจะช่วยให้รัฐบาลสามารถเดินหน้าได้เร็วขึ้น นำพาประเทศไทยไปสู่ความสำเร็จได้
สำหรับในส่วนของภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เข้าร่วมนำเสนอวิสัยทัศน์และความคิด ประกอบด้วย นายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย และตัวแทนจากสมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน, บริษัท ศุภาลัย จำกัด (มหาชน), บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน), บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน), บริษัท โกลเด้นแลนด์เรสซิเดนซ์ จำกัด โดยการหารือจะอยู่ในกรอบ 5 ประเด็นหลัก ประกอบด้วย
1. วิสัยทัศน์หรือมุมมองใน 3 ปีข้างหน้า โอกาสไทยในเวทีโลก
2. เรื่องสำคัญที่สุด 3 เรื่อง ที่ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุน
3. อุปสรรคที่สำคัญมากที่สุดที่ขัดขวางความสำเร็จ
4. กฎกติกาของภาครัฐที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงาน
5. หน่วยงานของภาครัฐที่อยากเห็นการปฏิรูปให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ตาม การรับฟังความเห็นจะต่อเนื่องตลอดทั้งวัน ไปจนกระทั่งถึงช่วงเย็น โดยไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าบันทึกภาพ แต่อาจมีการเผยแพร่ผ่านช่องทางสื่อสังคมออนไลน์ของนายกรัฐมนตรีเอง.

ที่มา : www.thairath.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2562

แผนงานการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิทางประกันสังคมแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศ CLMTV


รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 3 ณ ราชอาณาจักรกัมพูชา เผยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันในหลักการของแผนงาน เพื่อการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศ CLMTV ตั้งคณะทำงานร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี โดยจะมีการรับรองในการประชุมครั้งต่อไป ณ สปป.ลาว

เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2562 หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ เข้าร่วมประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 3 ณ อัปสรา พาเลส รีสอร์ท และคอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเสียมราฐ ราชอาณาจักรกัมพูชา ในหัวข้อ "Toward the Protection of Migrant Workers in CLMVT Countries: Social Security Cooperation” โดยสมเด็จอัคคมหาเสนาบดีเดโช ฮุน เซน เป็นประธานในพิธีเปิด

การประชุมในครั้งนี้ได้มีการให้ความเห็นชอบร่วมกันในหลักการของแผนงาน (Roadmap) เพื่อการเคลื่อนย้ายและการคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวในกลุ่มประเทศ CLMTV และร่างแถลงการณ์ร่วม (Joint Statement) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการจะร่วมกันพัฒนาและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการเคลื่อนย้ายและคงสิทธิทางประกันสังคมสำหรับแรงงานต่างด้าวกลุ่มประเทศ CLMTV ให้เป็นรูปธรรมต่อไป ซึ่งจะมีการตั้งคณะทำงานร่างปฏิญญาระดับรัฐมนตรี (Ministerial Declaration) โดยจะมีการรับรองในการประชุมระดับรัฐมนตรีแรงงานในกลุ่มประเทศ CLMTV ครั้งที่ 4 ณ สปป.ลาว ต่อไป


ที่มา : www.thaigov.go.th



วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2560

แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕

แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕

บทนำ

๑. แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๐๙-๒๐๑๕ เสริมสร้างความร่วมมือ
ด้านการเมืองและความมั่นคงของอาเซียนที่มีมากว่าสี่ทศวรรษ ในลักษณะที่ครอบคลุม
และเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนและประเทศสมาชิกอาเซียนสามารถ
อยู่ร่วมกันอย่างสันติในภูมิภาคและกับโลกภายนอก ในบรรยากาศของความยุติธรรม
เป็นประชาธิปไตย และมีความปรองดอง โดยแผนงานฉบับนี้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ
การรักษาสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ยึดหลักความมั่นคงที่ครอบคลุมทุกมิติ
และมองออกไปนอกภูมิภาคในการดำเนินความสัมพันธ์กับภาคีภายนอกอาเซียน

๒.เจ็ดปีของการดำเนินการตามแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๐๙-
๒๐๑๕ ทำให้ความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงมีความลึกซึ้งขึ้นและครอบคลุม
สาขาที่มากขึ้น ตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพของอาเซียนในการตอบสนองความท้าทายทั้งใน
ระดับภูมิภาคและระดับโลก สร้างความแข็งแกร่งให้แก่รากฐานของประชาคมการเมืองและ
ความมั่นคงอาเซียนภายในปี ๒๕๕๘

๓. แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕ จะต่อยอดจากความสำเร็จ
ที่เกิดขึ้น เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงให้สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้
อาเซียนเป็นประชาคมที่ยึดมั่นในกฎกติกาและทุกฝ่ายมีส่วนร่วม โดยประชาชนมีสิทธิ
มนุษยชน เสรีภาพขั้นพื้นฐาน และความยุติธรรมทางสังคม อาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย
และมั่นคง มีศักยภาพในการรับมือกับความท้าทายใหม่ ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ

และในภูมิภาคที่มีพลวัต ซึ่งอาเซียนสามารถรักษาความเป็นแกนกลางของตนในโครงสร้าง
สถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปและมีบทบาทที่สร้างสรรค์ในโลก ในการนี้
แผนงานฉบับนี้สนับสนุนให้อาเซียนเป็นองค์กรที่ให้ความสำคัญกับประชาชนและ
มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งทุกภาคส่วนของสังคมมีส่วนร่วมและได้รับผลประโยชน์
จากกระบวนการรวมตัวและการสร้างประชาคมอาเซียน โดยไม่คำนึงถึงเพศ เชื้อชาติ ศาสนา
ภาษา หรือพื้นเพทางสังคมและวัฒนธรรม

แผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕ ยึดแนวทางตามกฎบัตร
อาเซียน ตลอดจนตราสารและเอกสารอื่น ๆ ของอาเซียน ซึ่งกำหนดหลักการและกรอบ
สำหรับความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงและการดำเนินการตามแผนงานฯ

ซึ่งการดำเนินการนี้ จะเป็นไปตามกฎหมาย กฎระเบียบ และนโยบายภายในประเทศ โดยที่
การสร้างประชาคมเป็นกระบวนการที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง จึงยังคงต้องดำเนินกิจกรรม
หรือโครงการที่ปรากฏในแผนงานประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๐๙-๒๐๑๕
ต่อไป เมื่อคำนึงว่า กิจกรรมและโครงการเหล่านี้ยังมีความสำคัญอยู่ อย่างไรก็ดี การดำเนินการ
ตามแผนงานฯ จะต้องมีแนวทางที่เด่นชัดและมองไปข้างหน้า เพื่อให้แผนงานประชาคม
การเมืองและความมั่นคงอาเซียน ๒๐๒๕ สอดคล้องสัมพันธ์กัน ร่วมสมัย และสามารถรับมือกับ
ความท้าทายของยุคสมัยได้

วันพุธที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ในปี ค.ศ. ๒๐๒๕ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนของเราจะเป็น
ประชาคมที่มีปฏิสัมพันธ์กับประชาชน และประชาชนได้รับประโยชน์
รวมทั้งทุกคนมีส่วนร่วม มีความยั่งยืน แข็งแกร่ง และพลวัต

ดังนั้น เราจะดำเนินงานเพื่อให้ได้มาซึ่ง

ประชาคมที่มุ่งมั่น ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความรับผิดชอบต่อสังคม ผ่านกลไก
ที่เชื่อถือได้ และทุกคนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ของประชาชนในอาเซียน
โดยยึดหลักธรรมภิบาล

ประชาคมที่ทุกคนมีส่วนร่วม ซึ่งส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น การเข้าถึงโอกาส
อย่างเท่าเทียม การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของสตรี เด็ก เยาวชน
ผู้สูงอายุ ผู้พิการ แรงงานข้ามชาติ หรือกลุ่มที่เปราะบางและชายขอบ

ประชาคมที่มีความยั่งยืน ที่สนับสนุนการพัฒนาทางสังคมและปกป้องสิ่งแวดล้อม
ผ่านกลไกที่มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการในปัจจุบันและอนาคตของ
ประชาชน

ประชาคมที่แข็งแกร่ง ที่มีความสามารถและสมรรถนะในการปรับตัวและตอบสนอง
ต่อความเปราะบางทางสังคมและความอ่อนแอทางเศรษฐกิจ ปัญหาภัยพิบัติ
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตลอดจนภัยคุกคามและความท้าทายต่าง ๆ
ที่เกิดขึ้น

ประชาคมที่มีพลวัตและปรองดอง ตระหนักและภูมิใจในอัตลักษณ์ วัฒนธรรม
และมรดกที่เสริมสร้างความสามารถในการพัฒนาและส่งเสริมประชาคมโลก
ในเชิงรุกได้

ขับเคลื่อนไปข้างหน้า

เพื่อดำเนินการตามวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน ๒๐๒๕ ได้สำเร็จ เราต้องจัดตั้งประชาคม
ที่มีสถาบัน ที่เข้มแข็ง ด้วยการพัฒนากระบวนการการทำงานและการประสานงานของ
อาเซียน เพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรต่าง ๆ ของอาเซียน ซึ่งรวมถึง
สำนักเลขาธิการอาเซียน นอกจากนี้ เราจะต้องจัดตั้งประชาคมที่สถาบันของอาเซียน
มีตัวตนมากยิ่งขึ้น ทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระหว่างประเทศ

 ดังนั้น เรามอบหมายคณะมนตรีประชาคมอาเซียนในการนำข้อตกลงใน
 “อาเซียน ค.ศ. 2025:มุ่งหน้าไปด้วยกัน” ไปปฏิบัติอย่างเต็มที่และอย่างมีประสิทธิภาพ
และรายงานต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ตามกระบวนการที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว

เราสัญญากับประชาชนของเราว่า จะมีความแน่วแน่ในการจัดตั้งอาเซียนที่ยึดมั่นในกฎกติกา
ทำเพื่อประโยชน์ของประชาชน และมีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และมี
“หนึ่งวิสัยทัศน์
หนึ่งอัตลักษณ์
หนึ่งประชาคม”

วันอังคารที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2560

SME ไทยยังพึ่งพาตลาดส่งออกเก่า ไม่มองหาโอกาสใหม่

จากข้อมูลในปี 2557 พบว่า SME ไทยพึ่งพิงตลาดต่างประเทศอยู่พอสมควร
โดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออก SME ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมของ SEM 
อยู่ที่ร้อยละ 36.8 

เช่นเดียวกับการส่งออกโดยตรงของ SME ซึ่งมีมูลค่า 1,971,817 ล้านบาท
หรือคิดเป็นร้อยละ 26.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมของประเทศ







































หากมองในแง่จำนวนผู้ประกอบการส่งออก-นำเข้า จะเห็นว่า มี SME 
เพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่สามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้
โดยในปี 2557 มีจำนวน SME ที่ส่งออกอยู่ที่ 24,543 ราย ซึ่งไม่ถึง
ร้อยละ ของจำนวน SME ทั้งหมด

ในขณะที่ มีจำนวน SME ที่เป็นผู้นำเข้า 46,124 ราย โดยนำเข้า 2,224,030.7
ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 30.1 ของมูลค่าการนำเข้าทั้งหมด ส่งผลให้เกิด
การขาดดุลการค้าในส่วนของ SME จำนวน 306,213.6 ล้านบาท ในปี 2557

เห็นได้ชัดว่า SME ไทย ยังคงพึ่งพาการค้าขายภายในประเทศเป็นส่วนใหญ่
มีผู้ประกอบการเพียงไม่กี่หมื่นรายเท่านั้นที่มีศักยภาพสำหรับตลาดต่างประเทศ
นอกจากนี้ ยังพบว่า SME ไทยยังยึดติดกับการพึ่งพาตลาดคู่ค้าหลักๆ ในระบบ
เศรษฐกิจโลกเพียงไม่กี่ประเทศ อาทิ อาเซียน จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา
โดยยังไม่สามารถเข้าถึงโอกาสในตลาดส่งออกใหม่ๆ ได้มากนัก ในระยะยาวอาจ
ส่งผลกระทบ.