วันจันทร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาเซียนวางแผนเดินหน้าขยายความร่วมมือ หลังเปิด AEC ปี 2558

               อาเซียนเดินหน้าขยายความร่วมมือ หลังเปิด AEC ปี 58  (คศ.2015) หวังให้เข้มข้นมากขึ้น พร้อมสั่งเร่งเจรจา RCEP
เขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดให้เสร็จพร้อม AEC เผยล่าสุด AEC คืบหน้า 79% สิงคโปร์นำโด่ง ไทยรอง เตรียมชง
รัฐมนตรีอาเซียนเร่งรัดอีกครั้ง 26-27 ก.พ.นี้ ไทยยันอาเซียน การเมืองภายในไม่กระทบการเจรจา

                นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงผลการประชุม
เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน (SEOM) ที่ประเทศเมียนมาร์เมื่อเร็วๆนี้ว่า ที่ประชุมได้หารือประเด็นด้าน
เศรษฐกิจที่อาเซียนจะให้ความสำคัญในปี 2557 
                      โดยเมียนมาร์ในฐานะประธานอาเซียนในปี นี้เห็นว่าจะให้ความสำคัญกับเรื่องการพัฒนา SME การให้ภาคเอกชนเข้ามีส่วนร่วมในการลงทุน เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และการดำเนินการหลังปี 2558  ซึ่งขณะนี้อาเซียนได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยทางเศรษฐกิจเพื่ออาเซียนและเอเชียตะวันออกทำการศึกษาว่าอาเซียนหลังจากเป็น AEC แล้ว ควรจะมีทิศทางความร่วมมือกันต่อไปอย่างไร เพื่อให้อาเซียนมีความร่วมมือแน่นแฟ้ นมากยิ่งขึ้น
                     ทั้งนี้ อาเซียนยังได้เร่งรัดให้มีการเจรจาจัดทำความตกลงพันธมิตรทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP)
หรืออาเซียน+6 ให้บรรลุผลการเจรจาในปี 2558  ซึ่งเป็นปี เดียวกันกับการเปิ ด AEC เพื่อผลักดันให้เป็นความตกลง
การค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูงและครอบคลุมประชากรกว่า 3 พันล้านคนในโลก รวมทั้ง จะมีการเจรจายกระดับการเปิด
เสรีภายใต้ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน การเริ่มเจรจาความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ฮ่องกง เพื่อใช้ฮ่องกงเป็น
ประตูการค้าของอาเซียนสู่จีน รวมทั้งจะมีการพิจารณาจัดลำดับความสำคัญในการเจรจาการค้าเสรีกับประเทศคู่
เจรจาของอาเซียนด้วย
                     นายสมเกียรติ กล่าวว่า อาเซียนยังได้มีการติดตามความคืบหน้า AEC โดยพบว่ามีความคืบหน้าพอสมควร
ซึ่งการวัดผลล่าสุดอาเซียนดำเนินการตามแผนได้ 79.43% โดยสิงคโปร์มีความคืบหน้ามากที่สุด รองลงมา คือ ไทย
ส่วนประเทศอาเซียนอีก 8 ประเทศ มีความคืบหน้าไม่ต่างกันมาก
                     สำหรับมาตรการที่อาเซียนยังดำเนินการได้ล่าช้าและมาตรการที่ต้องเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี
2558 เช่น การอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านมาตรฐานและความ
สอดคล้องสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป และยังจะต้องเจรจาจัดทำข้อผูกพันการเปิดเสรีการค้าบริการชุดที่ 10 ซึ่ง
เป็นชุดสุดท้ายให้แล้วเสร็จด้วย
                        ส่วนการประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ในวันที่ 26-27 ก.พ.
2557 จะมีการหารือแนวทางการดำเนินงานหลังอาเซียนเป็น AEC และการติดตามความคืบหน้าการยกเลิกมาตรการ
ที่ไม่ใช่ภาษีของแต่ละประเทศที่จะนำมาเป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อผลักดันให้ยกเลิกและไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำ
การค้าระหว่างกัน
                        นายสมเกียรติ กล่าวเสริมว่า กรณีสถานการณ์ทางการเมืองในไทย สมาชิกอาเซียนได้สอบถามและแสดง
ความห่วงใย ซึ่งไทยได้แจ้งว่า ไทยยังสามารถหารือร่วมกับประเทศสมาชิกและคู่เจรจาได้ แต่ยังไม่สามารถลงนาม
เอกสารทางเศรษฐกิจต่างๆได้ และเมื่อไทยตั้งรัฐบาลได้แล้ว จะดำเนินกระบวนการภายในเพื่อให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจ
ของไทยลงนามในเอกสารในโอกาสต่อไป ซึ่งไม่เพียงแค่ไทยที่ไม่อาจลงนามเอกสารทางเศรษฐกิจในช่วงนี้ ยังมี
อินโดนีเซียที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาและประธานาธิบดีในเดือน เม.ย. และ ก.ค. 2557 ทำให้การลงนาม
เอกสารต่างๆ จึงต้องเป็นการลงนามในลักษณะเวียน ประเทศใดพร้อมก็ลงนามก่อน
                       สำหรับเอกสารที่มีกำหนดจะลงนามในปี นี้ที่สำคัญ เช่น พิธีสารอนุวัติข้อผูกพันเปิดตลาดการค้าบริการชุด
ที่ 9 และข้อผูกพันเปิดตลาด ชุดที่ 9 พิธีสารเพื่อปรับปรุงและแก้ไขข้อบทของความตกลงด้านการลงทุนและตารางข้อ
สงวน ความตกลงการค้าบริการและการลงทุน อาเซียน-อินเดีย เป็นต้น

                       


วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

สามเสาหลักอาเซียน



       ประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 3 ประชาคมย่อย  ซึ่งเปรียบเสมือนสามเสาหลักซึ่งเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันได้แก่
 1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community–ASC)   มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ  มีระบบแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันได้ด้วยดี  มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน  มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง

 2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน  (ASEAN Economic Community-AEC)   มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน  อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่น ๆ ได้  เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน                  

3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน  (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC)  เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร  มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี  และมีความมั่นคงทางสังคม

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาเซียน+3 และ อาเซียน+6 คืออะไร?


       นอกจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)จะมีกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศในอาเซียนด้วยกันแล้ว ในอนาคตอาเซียนยังมีกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศคู่เจรจา (Dialog Partners) ที่มีการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ในทุกๆ ด้านอย่างค่อนข้างใกล้ชิดอีกหลายประเทศ และ 2 กลุ่ม ซึ่งเป็นประเทศนอกกลุ่มสมาชิกอาเซียนเช่น

อาเซียน+3 (ASEAN+3) คือ มีประเทศเพิ่มมา 3 ประเทศ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ โดยแรกมาเลเซียอยากได้สามประเทศนี้มาร่วมกลุ่มด้านเศรษฐกิจเพื่อถ่วงดุลอิทธิพล ของอเมริกา แต่ถูกญี่ปุ่นกับอเมริกาคัดค้าน แต่ก็ยังมีการประชุมอยู่

อาเซียน+6 (ASEAN+6) คือ มีจีน เกาหลี ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อินเดีย และนิวซีแลนด์  สำหรับญี่ปุ่น อาเซียนกำลังสร้างความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น รวมทั้งการสร้างเขตการค้าเสรีใน บางส่วนที่จะดำเนินการให้สำเร็จในทันทีที่เป็นไปได้และภายในสิบปี ที่สำคัญกว่านั้นคือ อาเซียนอาจทำให้การประชุมสุดยอดอาเซียนบวกสาม(ASEAN+3) (ซึ่งคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้และจีน) กลายเป็นการประชุมสุดยอดเอเซียตะวันออก (East Asia Summit) และสร้างเขตการค้าเสรีเอเซียตะวันออกซึ่งมีผู้บริโภค 2 พันล้านคน อย่างช้า ๆ